สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 12-18 ม.ค.61

ถั่วเหลือง

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ 
          ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ 
          ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 16.48 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 16.56 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.48
          ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
          ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
          ราคาขายส่งกากถั่วเหลืองใน สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 20.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
     การส่งออกถั่วเหลืองในปัจจุบัน

          ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก) 
          ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 968.30 เซนต์ (11.42 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 949.04 เซนต์ ( 11.26 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.03 
          ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 323.55 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.39 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 312.86 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.10 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.42
          ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 32.65 เซนต์ (23.10 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 33.23 เซนต์ (23.65 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.75

          หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 3 วัน


ฝ้าย

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ 
          ราคาที่เกษตรกรขายได้
          ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา

          ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)

          ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนมีนาคม 2561 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 81.97 เซนต์
(กิโลกรัมละ 58.02 บาท) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 79.36 เซนต์ (กิโลกรัมละ 56.58 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.29 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 1.44 บาท



ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
     ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้ 
          ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ 
          ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 50.00 บาท
ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.00 
          ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.28 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 14.36 บาท
ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 83.01 
          ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ 
          ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน 
          ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน

ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ 

        ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ 
        ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 16.81 บาท ลดลงจากราคากิโลกรัมละ 17.14 บาท
ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.93 
        ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา 
        ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ 
        ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา 
        ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 20.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน 
        ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา 
        ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 12.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน 
        ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
        ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
        ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
        ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 659.20 ดอลลาร์สหรัฐ (20.89 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 653.40 ดอลลาร์สหรัฐ (20.87 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.89 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท 
        ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา 
        ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 405.40 ดอลลาร์สหรัฐ (12.85 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 402.00 ดอลลาร์สหรัฐ (12.84 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.85 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท 
        ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 716.20 ดอลลาร์สหรัฐ (22.70 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 710.00 ดอลลาร์สหรัฐ (20.67 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.87 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 2.03 บาท
 


 

ปาล์มน้ำมัน 
  1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ


          สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2561 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนมกราคมจะมีประมาณ 0.998 
ล้านตันคิด เป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.170 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.014 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.172 ล้านตัน ของเดือนธันวาคม 2560 คิดเป็นร้อยละ 1.58 และร้อยละ 1.16 ตามลำดับ
          ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
          ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 2.89 บาท ลดลงจาก กก.ละ 2.93 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.37

          ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
          ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 19.58 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 19.56 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.10 

2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ 
          ผลผลิตน้ำมันปาล์มดิบของมาเลเซียเพิ่มขึ้น ปี 2561
          คณะกรรมการน้ำมันปาล์มมาเลเซีย (MPOB) คาดการณ์ว่า ปี 2561 ผลผลิตจะเพิ่มขึ้นเป็น 20.5 ล้านตันจาก 19.9 ล้านตันในปี พ. ศ. 2560 เนื่องจากสภาพอากาศเอื้ออำนวยต้นปาล์มมีความสมบูรณ์ฟื้นตัวจากสภาพอากาศที่แห้งแล้งเมื่อปี 2559 ส่งผลให้ผลผลิตปาล์มน้ำมันจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม คาดว่าการส่งออกน้ำมันปาล์มดิบของมาเลเซียจะเพิ่มขึ้นร้อย 5.1 ปริมาณอยู่ที่ 17.4 ล้านตัน และคาดว่าสต็อกน้ำมันปาล์มจะลดลงร้อยละ 15.8 อยู่ที่ 2.3 ล้านตัน ในปี 2561 อาจส่งผลให้ราคาน้ำมันปาล์มดิบมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น และสามารถแข่งขันได้ในตลาดอินเดียและจีน
          ราคาในตลาดต่างประเทศ 
          ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 2,518.26 ดอลลาร์มาเลเซีย (20.64 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 2,557.10 ดอลลาร์มาเลเซีย (21.04 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.52 
          ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 671.67 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21.56 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 686.25 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22.19 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.12 

          หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 3 วัน
 


ข้าว

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
     1.1 การตลาด 
          มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2560/61 
               มติที่ประชุม ครม. เห็นชอบมาตรการฯ จำนวน 13 โครงการ ดังนี้ 
               (1) ด้านการผลิต มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2560 วันที่ 21 พฤศจิกายน 2560 และวันที่ 12ธันวาคม 2560 เห็นชอบโครงการฯ ได้แก่ 1) โครงการส่งเสริมการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิคุณภาพดี 2) โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบนาแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่ หลักเกณฑ์ใหม่) 3) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ 4) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย ฤดูนาปรัง ปี 2561 5) โครงการปลูกพืชปุ๋ยสด ฤดูนาปรัง ปี 2561 6) โครงการขยายการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย ฤดูนาปรัง ปี 2561 7) โครงการขยายการปลูกพืชปุ๋ยสด ฤดูนาปรัง ปี 2561 และ 8) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชอาหารสัตว์ ฤดูนาปรัง ปี 2561
               (2) ด้านการตลาด มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2560 และเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2560 เห็นชอบโครงการฯ ได้แก่ 1) โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร 2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร 3) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีและการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวให้แก่เกษตรกรรายย่อยผู้ปลูกข้าวนาปี และ 4) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก 
               (3) ด้านการเงิน มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2560 เห็นชอบ โครงการประกันภัยข้าวนาปี 
ปีการผลิต 2560
          ภาวการณ์ซื้อขายข้าวสัปดาห์นี้ ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลิที่เกษตรกรขายได้ สูงขึ้นเมื่อเทียบกับสัปดาห์
ที่ผ่านมา เนื่องจากประเทศผู้นำเข้ามีความต้องการข้าวอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าเข้าสู่ช่วงปลายฤดูเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วก็ตาม
     1.2 ราคา
          1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
               ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 13,499 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 12,310 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 9.66 
               ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 7,713 ราคาลดลงจากตันละ 8,029 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.23 
          2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
               ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 31,130 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 30,950 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.58 
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 12,170 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 11,830 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.87 
          3) ราคาส่งออกเอฟโอบี 
               ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,053 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33,375 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 1,043 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33,309 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.95 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 66 บาท
               ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 436 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,819 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 416 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,285 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.80 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 534 บาท 
               ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 416 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,185 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 400 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,774 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.00 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 411 บาท
               ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 448 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,200 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 429 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,700 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.42 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 500 บาท
               หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 31.6955 บาท

2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ 
          เวียดนาม 
          ภาวะราคาข้าวเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาขยับสูงขึ้นจากที่คาดว่าประเทศฟิลิปปินส์จะเข้ามาซื้อข้าวจากเวียดนาม โดยการเปิดประมูลซื้อข้าวจำนวน 250,000 ตัน ในเดือนนี้ อย่างไรก็ตามภาวะการซื้อขายข้าวในตลาดยังค่อนข้างเบาบางเนื่องจากสต็อกข้าวลดลง และคาดว่าผลผลิตฤดูหนาว-ใบไม้ผลิ (winter-spring crop) จะออกสู่ตลาดประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์ โดยราคาข้าวขาว 5% อยู่ที่ประมาณ 400 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน เพิ่มขึ้นจาก 390-395 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน เมื่อสัปดาห์ก่อนหน้า
          สำนักงานศุลกากร (the General Department of Vietnam Customs) รายงานว่า ในปี 2560 ที่ผ่านมา เวียดนามส่งออกข้าวได้ประมาณ 5.79 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 2.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.5 และร้อยละ 20.8 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยในเดือนธันวาคม 2560 เวียดนามส่งออกข้าวจำนวน 351,439 ตัน ลดลงร้อยละ 6 เมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2560
          ทางด้านกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) รายงานสถานการณ์ข้าวของเวียดนาม โดยคาดว่า ในปีการตลาด 2559/60 (มกราคม-ธันวาคม 2560) มีผลผลิตข้าวเปลือกประมาณ 43.85 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 0.5 จากที่คาดการณ์ก่อนหน้าที่จำนวน 44.08 ล้านตัน เนื่องจากผลผลิตต่อพื้นที่เพาะปลูกและผลผลิตข้าวในฤดูหนาว (winter crop) ซึ่งเป็น ฤดูสุดท้ายในปีการตลาดมีผลผลิตลดลง จากการที่สภาพอากาศที่แปรปรวน ทำให้มีฝนตกปริมาณมากในช่วงปลายปีที่ผ่านมา ซึ่งกระทรวงเกษตร (MARD) ประเมินว่ามีพื้นที่เพาะปลูกข้าวทางภาคเหนือได้รับผลกระทบ ส่งผลให้ผลผลิตข้าวเปลทิกลดลงจากปีก่อนหน้าประมาณ 450,000 ตัน ขณะที่พื้นที่ทางภาคใต้กลับมีผลผลิตเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าประมาณ 130,000 ตัน จึงทำให้ผลผลิตรวมในฤดูหนาว (winter crop) ของปีการตลาด 2556-60 ลดลงประมาณ 320,000 ตัน
          ทางด้านภาวะการส่งออกข้าวในปี 2559/60 คาดว่าส่งออกได้ประมาณ 6.4 ล้านตัน ลดลงจากคาดการณ์
ก่อนหน้านี้ที่ 6.6 ล้านตัน ส่วนในปี 2560/61 คาดว่าจะส่งออกได้ประมาณ 6.5 ล้านตัน ส่วนการนำเข้าข้าวนั้น เวียดนามมีการนำเข้าข้าวจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น กัมพูชา ซึ่งในแต่ละปีมีการนำเข้าประมาณ 300,000 ตันข้าวสาร โดยจะนำเข้าในรูปของข้าวเปลือก แล้วนำมาสีที่ประเทศเวียดนาม เนื่องจากมีต้นทุนการสีที่ถูกกว่าในกัมพูชา ทั้งนี้ข้าวที่เวียดนามนำเข้าจากกัมพูชาจะมีสองชนิดคือ ข้าวคุณภาพสูง และข้าวขาวพันธุ์ทั่วไปที่ได้พันธุ์มาจากสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (IRRI) โดยข้าวคุณภาพสูงมักจะนำมาสีเพื่อจำหน่ายภายในประเทศ ส่วนข้าวขาวจะสีเพื่อส่งออก อย่างไรก็ตามในปี 2559/60 คาดว่าเวียดนามจะนำเข้าข้าวจากกัมพูชาประมาณ 550,000 ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2558/59 ที่นำเข้าประมาณ 300,000 ตัน เนื่องจากในช่วงปลายปีเวียดนามประสบกับสภาพอากาศแปรปรวน ทำให้ผลผลิตข้าวในประทศลดลง
          มีรายงานว่า รัฐบาลเวียดนามมีแผนที่จะขายหุ้นของ Vietnam Southern Food Corp. (Vinafood II) 
ผ่านการเสนอขายหุ้นครั้งแรก (IPO) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการเร่งรัดการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ โดยรัฐบาลคาดว่าจะระดมทุนอย่างน้อย 51 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยการขายหุ้นสัดส่วนประมาณ 22.97% ตามแผนแปรรูปรัฐวิสาหกิจและเผยแพร่บนเว็บไซต์ของรัฐบาล
          คาดว่าราคาหุ้นเริ่มที่ 10,100 ดองหรือประมาณ 0.44 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อหุ้น ขณะที่มูลค่าหุ้นทั้งหมดของบริษัทคือ 222.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นอกจากนี้รัฐบาลยังมีแผนที่จะขายหุ้นอีก 25% ให้แก่ strategic investors โดยคาดว่าจะใช้เวลาพิจารณารายละเอียดอีกประมาณ 3 เดือน
          ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
          เมียนมาร์ 
          กระทรวงพาณิชย์ (the Ministry of Commerce) รายงานว่าการส่งออกข้าวในปีงบประมาณปัจจุบัน (2560/61) ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่เดือนเมษายน 2560 มาจนถึงสัปดาห์แรกของเดือนมกราคม 2561 มีการส่งออกข้าวไปแล้ว ประมาณ 2.6 ล้านตัน เพิ่มขึ้นถึง 1.6 ล้านตัน จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ขณะที่มูลค่าส่งออกมีประมาณ 480 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้เมียนมาร์ตั้งเป้าที่จะส่งออกข้าวให้ได้ถึง 3 ล้านตัน ภายในปี 2563 โดยในปี 2558/59 เมียนมาร์ส่งออกได้ 1.4 ล้านตัน และในปี 2559/60 ส่งออกได้ประมาณ 1.7 ล้านตัน 
          ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
          อินโดนีเซีย 
          รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ของอินโดนีเซีย ออกมาประกาศว่ารัฐบาลอินโดนีเซียจะทำการนำเข้าข้าวจำนวน 500,000 ตัน จากประเทศไทย และเวียดนาม เพื่อชะลอราคาข้าวในประเทศที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากข้าวภายในประเทศมีไม่เพียงพอต่อความต้องการ ส่งผลให้ค่าครองชีพของประชาชนสูงขึ้นตั้งแต่เดือนธันวาคมของปีที่ผ่านมา ซึ่งข้าวที่นำเข้าภายในปลายเดือนมกราคมนี้ เป็นข้าวคุณภาพปานกลาง ที่แตกต่างจากข้าวพันธุ์พื้นเมืองอย่าง IR 64 (อาจเป็นข้าวขาวมะลิ หรือจาปอนนิกา) โดยนำเข้าผ่านหน่วยงาน PPI (Perusahaan Perdagangan Indonesia) ทั้งนี้รัฐบาลอินโดนีเซียได้กำหนดราคาเพดานของข้าวในประเทศ โดยบังคับใช้เพื่อไม่ให้ร้านค้าขายข้าวในราคาที่แพงเกินกว่าราคาเพดานที่กำหนดไว้ รวมทั้งประกาศลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนข้อบังคับดังกล่าวด้วย
          อนึ่ง ชาวนาอินโดนีเซียร้องเรียนว่า ไม่ได้รับผลประโยชน์จากราคาข้าวในประเทศที่สูงขึ้น เพราะราคาที่สูงขึ้นนั้นมาจากการกักตุนสินค้าเพื่อเก็งกำไรของพ่อค้าในประเทศ หัวหน้าสหพันธ์ชาวนาของอินโดนีเซีย กล่าวว่า ในช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดมาก ข้าวเปลือกสดที่ชาวนาขายได้มีราคาเพียง 4,400 ($0.34) รูเปียต่อกิโลกรัม อีกทั้งต้นทุนการผลิตสูงกว่าราคาที่เกษตรกรขายได้ ราคาข้าวที่สูงขึ้นจึงไม่ส่งผลต่อชาวนา ซึ่งที่ผ่านมา ชาวนาหลายคนได้รับผลกระทบจากการระบาดของศัตรูพืช ทำให้ผลผลิตข้าวที่ได้มีคุณภาพต่ำ โดยช่วงที่ผ่านมามีพ่อค้าหลายรายหันมาซื้อข้าวจำนวนมากจากพื้นที่ที่มีการเก็บเกี่ยว เพื่อกักตุนข้าวไว้เก็งกำไร
          ที่มา : จาการ์ตาโพสต์
 



อ้อยและน้ำตาล

1.สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
                รายงานการผลิตน้ำตาลทรายของโรงงานน้ำตาลทั่วประเทศ
               ศูนย์บริหารการผลิต สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายได้รายงานการเก็บเกี่ยวอ้อยและการผลิตน้ำตาลทรายตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2560 จนถึงวันที่ 15 มกราคม 2561 ว่ามีอ้อยเก็บเกี่ยวเข้าโรงงานน้ำตาลไปแล้วจำนวน 34,610,274 ตัน ผลิตเป็นน้ำตาลได้ 3,323,822 ตัน แยกเป็นน้ำตาลทรายดิบ 2,606,883 ตัน และน้ำตาลทรายขาว 716,939 ตัน ค่าความหวานของอ้อยเฉลี่ย 11.51 ซี.ซี.เอส. ผลผลิตน้ำตาลทรายเฉลี่ยต่อตันอ้อย 96.04 กก.ต่อตันอ้อย 
2.สรุปภาวการณ์ผลิตการตลาดและราคาในต่างประเทศ
               รายงานการผลิตน้ำตาลของบราซิล 
               กระทรวงเกษตรของบราซิล รายงานว่าในฤดูการผลิตปี 2560/2561 เพียง ณ วันที่ 1 มกราคม 2561 โรงงานน้ำตาลในทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของบราซิล ผลิตน้ำตาลได้ 1,862,468 ตัน (tel quel) ลดลงจาก 2,397,799 ตัน ในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 22.33 ทั้งนี้ โรงงานทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีสัดส่วนการหีบอ้อยประมาณร้อยละ 10 ของประเทศ โดยถึงขณะนี้มีปริมาณอ้อยเข้าหีบจำนวน 33.81 ล้านตัน ลดลงจาก 36.51 ล้านตัน ในปีก่อน ร้อยละ 7.40
 


มันสำปะหลัง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ 
          การผลิต 
               ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2561 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2560 – กันยายน 2561) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.07 ล้านไร่ ผลผลิต 28.57 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.54 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2560
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.91 ล้านไร่ ผลผลิต 30.94 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.47 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยวและผลผลิตลดลงร้อยละ 9.43 และ 7.66 ตามลำดับ ส่วนผลผลิตต่อไร่สูงขึ้นร้อยละ 2.02 โดยเดือนมกราคม 2561 
คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 4.24 ล้านตัน (ร้อยละ 14.84 ของผลผลิตทั้งหมด) 
               ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2561 ออกสู่ตลาดแล้ว (เดือนตุลาคม-ธันวาคม 2560) ปริมาณ 5.36 ล้านตัน (ร้อยละ 18.72 ของผลผลิตทั้งหมด) 
          การตลาด 
               ผลผลิตออกสู่ตลาดมาก แต่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ประกอบการมันสำปะหลัง ประกอบกับราคาส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึ้นด้วย 
          ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้ 
               ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.99 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1.95 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 2.05 
               ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.96 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 4.54 บาท
ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 9.25 
          ราคาขายส่งในประเทศ 
               ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.33 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.28 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.80
               ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.17 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 13.15 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.15
          ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี 
               ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 215 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือตันละ 6,815 บาท ราคาสูงขึ้นในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ตันละ 3 ดอลลาร์สหรัฐฯ และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 45 บาท 
               ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 435 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือตันละ 13,788 บาท ราคาทรงตัวในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 104 บาท
 
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
  1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ  

               ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้

               ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.88 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.13 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.08 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.40 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 6.60 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.03 
               ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.55 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน และราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.77 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.85 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.90 
               ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 308.60 ดอลลาร์สหรัฐ (9,781 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากตันละ 306.00 ดอลลาร์สหรัฐ (9,772 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.85 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 9.00 บาท 
               ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนมีนาคม 2561 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน
ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 349.70 เซนต์ (4,420 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากบุชเชลละ 349.00 เซนต์ (4,444 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.20 แต่ลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 24.00 บาท